การเข้าใจดิจิทัล (digital literacy)

 

 

หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital LiteracyCurriculum)


จัดทำโดย

มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ปรึกษากิจกรรมศึกษาวิเคราะห์กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลเบื้องต้น (Digital Literacy)
สำหรับประซาซนทุกกลุ่มวัยที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อลังคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข้อมูลทั่วไป

๑. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :           การเช้าใจดิจิทัล

ภาษาอังกฤษ :         Digital Literacy Curriculum

๒. จำนวนชั่วโมงที่เรียนรู้ตลอดหลักสูตร

เรียนรู้ไม่น้อยกว่า        ๑๘ ชั่วโมง

๓. รูปแบบของหลักสูตร

ภาษาที่ใซ้     :         ภาษาไทย

กระบวนการในการเรียนรู้   :            เรียนรู้ทฤษฎีและกิจกรรมปฏิบัติการ

๔. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนสามารถ

๔.๑. อธิบายทฤษฎีหลักการเช้าถึงและใช้ดิจิทัลสำหรับการปฏิบัติงานและการใช้ ชีวิตประจำวันได้

๔.๒. รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล คิด วิเคราะห์ แยกแยะ สื่อดิจิทัลเพื่อการบริโภคได้อย่าง เหมาะสม

๔.. ประยุกต้ใช้ดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

๔.๔. เข้าใจความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ตามแนวทางการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ ๒๑

๔.๔. เรียนรู้การใช้งานดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ทางด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ๔.๖. ตระหนักรู้ การใช้ดิจิทัสอย่างสร้างสรรค์

๕. กลุ่มผู้เรียนรู้

       ผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาระบบ

       ผู้สร้างเนื้อหา กราฟิกดีไซเนอร์ ผู้สร้างภาพยนต์เคลื่อนไหว

       ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเฉพาะด้าน วิศวกร นักดนตรี นักสถิติ พยาบาล นักบัญชี เป็นต้น

       ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน นักเรียน ช้าราชการ พักงานบริษัท ตำรวจ ทหาร เป็นต้น

       บุคคลทั่วไป แม่บ้าน เกษตรกร พนักงานแรงงาน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

       บุคคลทางด้านศาสนา พระ บาทหลวง เป็นต้น

ข้อมูลโครงสร้างหลักสูตร

๑. คำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรการเช้าใจดิจิทัล (Digital Literacy Curriculum) มีจำนวนเนื้อหาตลอดหลักสูตร ๙ กลุ่ม เนื้อหา ประกอบด้วย สิทธิและความรับผิดชอบ การเช้าถึงลื่อดิจิทัล การลื่อสารยุคดิจิทัล ความปลอดภัยยุค ดิจิทัล ความเช้าใจลื่อดิจิทัล แนว’ปฏิบัติ,ในสังคมดิจิทัล สุขภาพดียุคดิจิทัล ดิจิทัลคอมเมิร์ซ และ กฎหมาย ดิจิทัล

๑.®สิทธิและความรับผิดชอบ

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องทราบสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบเมื่อใช้สิทธินั้นบนลื่อสาธารณะยุค ดิจิทัลในฐานะเป็นประซากรชองสังคมในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับชุมซน ระดับประเทศ ระดับ โลก โดยความรับผิดชอบนี้รวมถึงความรับผิดชอบต่อตัวเอง และความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้ง ผลกระทบที่เกิดจากการกระทำและทางกฎหมายด้วยการใช้สิทธิ เสรีภาพอย่างถูกต้อง จะทำให้การ อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน เกิดความสงบสุข ไม่ขัดต่อกฎหมาย จริยธรรม ศีลธรรม ชองสังคม ถือเป็น พื้นฐานประการแรกที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อจะอยู่ในสังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงประซากรจากทุก ประเทศทั้งโลกเช้าไว้ด้วยกัน

๑.๒ การเข้าถึงสื่อดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยซ่องทางต่าง ๆ รวมถึง ข้อดีข้อเสียของแต่ละซ่องทางได้ เพื่อให้สามารถไข้ Search Engine ด้นหาข้อมูลที่ต้องการจาก อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเข้าใจสื่อทางดิจิทัลชนิดต่าง ๆ รวมถึง การนำไปประยุกตัไข้งานในป้จจุบัน

๑.๓ การสื่อสารยุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจการสื่อสารผ่านทางสื่อ และเครื่องมือทางดิจิทัลในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสม ความแตกต่าง ความเสี่ยงของสื่อ และเครื่องมือพร้อมทั้งสามารถสื่อสาร โดยการใช้ข้อความหรือถ่อยคำอย่างสร้างสรรค์ มีประโยชน์ และเคารผู้อื่น เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังรวมถึง ความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่บนสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ว่าสิ่งไหนเป็น ข้อเท็จจริง สิ่งไหนเป็นความเห็น สิ่งไหนเป็นความจริงบางส่วน สิ่งไหนเป็นความจริงเฉพาะเหตุการณ์ นั้น ๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการสื่อสารทางดิจิทัล

๑.๔ ความปลอดภัยยุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นเข้าใจความมั่นคง ความเป็นส่วนตัว และการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ในการใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิท้ล รวมถึงภัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในแง่วิธีการที่ได้รับการคุกคาม ผลกระทบที่เกิดขึ้น การป้องกัน การลดความเสี่ยง ต่อภัยเหล่านั้น

๑. ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจสารสนเทศและสื่อในยุคดิจิทัล เพื่อที่สามารถระบุข้อมูลที่ ต้องการหาข้อมูลนั้น ประเมินประโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลนั้น จากแหล่งต่าง ๆ นอกจากนั้นผู้ศึกษายังจำเป็นต้องสามารถน่าข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นความรู้ เพื่อ น่าไปใช้ประโยชน์ผ่านทางการน่าเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑.๖ แนวทางปฏิบัติในยุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องทราบ แนวทางปฏิบัติในสังคม มารยาท และ พฤติกรรมอันพึงปฏิบัติเมื่อ อยู่ร่วมในสังคมดิจิท้ล เพื่อไม่สร้างความเดือดร้อน ความรำคาญ ความเครียด ความกังวลใจ รวมถึง เป็นสาเหตุของป้ญหาทางสภาพจิตของบุคคลอื่นและตัวเอง การประพฤติตามมารยาทที่เหมาะสม จะ ทำให้สังคมยอมรับ นับถือ และให้เกียรติเราดังนั้นมารยาทในสังคมดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่’จำเป็นต้อง เรียนรู้ และปูพื้นฐานไวิในการใช้งานสังคมดิจิท้ล

๑.๗ สุขภาพดียุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจอันตรายและผลกระทบด้านสุขภาพในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน สุขภาพกาย สุขภาพจิต โรคที่เกิดขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์และผลกระทบต่อเยาวชน การใช้ อินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล เพื่อป้องกัน หลีกเลี่ยง ลดผลกระทบ จนถึงวิธีการรักษาเบื้องต้น ทั้งต่อ ตัวเอง และคนใกล้ตัว เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในยุคดิจิทัลได้

๑.๘ ดีจิทัลคอมเมิร์ซ

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเช้าใจการทำธุรกิจออนไลน์ หรือ อิคอมเมิร์ซ ประเภทต่าง ๆ รวมถึง อันตราย ภัย และ ความเลี่ยงจากการทำธุรกรรมนั้น พร้อมทั้งวิธีป้องกัน ลดความเลี่ยงและรับมือ กับ อันตราย ภัย และความเลี่ยงเหล่านั้น โดยรู้ฃั้นตอนปฏิบัติเมื่อตกเป็นเหยือการหลอกลวงเหล่านี้

๑.๙ กฎหมายดีจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเช้าใจสิทธิและข้อจำกัดที่ควบคุมการใช้ลี่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกกำหนดโดยภาครัฐ เพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติงานและดำเนินชีวิตได้อยู่ถูกต้องตามกฎระเบียบ สังคม ซึ่งจะเป็นการเคารพสิทธิของผู้อื่นอีกด้วย

๒. จำนวนชั่วโมงที่ใซ้ต่อหลักสูตร

จำนวนชั่วโมงบรรยายต่อหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงผึเกปฏิบัติต่อหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงการศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง

 

 

๓. วิธีการสอนที่จะพัฒนาการเรียนรู้

๓.๑ บรรยาย

๓.๒ กรณศกษา

๓.๓ การมอบหมายงาน

๓.๔ การน่าเสนอผลงาน ๓. การอภิปราย ๓.๖ การผึเกปฏิบัติ

๓.๗ การทบทวน

๔. วิธีการประเมินผล

๔.๑ ความรู้ความเข้าใจดิจิทัลครอบคลุมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความเข้าใจดิจิทัลประเมินจาก (๑) ผลทดสอบก่อนเรียน (๒) ผลทดสอบหลักเรียน (๓) การตอบคำถามในกระบวนการเรียนรู้ (๔) การสัมภาษณ์

๔.๒ ทักษะความเข้าใจดิจิทัล เพื่อการใข้ประโยซน่ในการปฏิบัติงานและชีวิตประจำวัน ประเมินจาก (๑) ผลลัพธ์การทดสอบปฏิบัติการ (๒) การลังเกตการณ์ (๓) การสัมภาษณ์

๔.๓ ทัศนคติความเข้าใจดิจิทัล เพื่อการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัสอย่างเหมาะสม ประเมินจาก (๑) การตอบคำถามในกระบวนการเรียนรู้ (๒) กระบวนการลังเกตการณ์ของผู้สอน

(๓) การจำลองสถานการณ์เพื่อประเมินผล โดยกระบวนการจัดลำดับ (Ranking) การให้คะแนน (Rating) การแยกกลุ่ม (Sorting Technique) การเลือกตอบ (Choice Technique) และ การวัดทางสรีรวิทยา (Physiological)

(๔) การพิจารณาแนวคิด (นามธรรม) สะท้อน การกระทำ (รูปธรรม)

Course Information

Author Information

adminadmin

ครูกศน.

FREE

กด เพื่อเข้าห้องเรียน

ประชาชนทั่วไป

FREE

กดเพื่อเข้าห้องเรียน

บทที่ 1 สิทธิและความรับผิดชอบ

บทที่ 2 การเข้าสื่อดิจิทัล

บทที่ 3 การสื่อสาร (และความสัมพันธ์) ยุคดิจิทัล

บทที่ 4 ความปลอดภัยยุคดิจิทัล

บทที่ 5 ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

บทที่ 6 แนวปฏิบัติในสังคมดิจิทัล

บทที่ 7 สุขภาพดียุคติจิทัล

บทที่ 8 ดิจิทัลคอมเมิร์ซ

บทที่ 9 กฎหมายดิจิทัล

0 comments on “การเข้าใจดิจิทัล (digital literacy)Add yours →

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *